รายละเอียดโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
1. ชื่อโครงการ
การเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาผู้นำทางการศึกษาและวัฒนธรรมสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
2. หลักการและเหตุผล
การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืนจะต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนในชาติให้มีความเข้มแข็งพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงกับกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย
สืบเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการติดต่อสื่อสาร
แลกเปลี่ยนข้อมูลและเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยไม่มีขอบเขตจำกัด
เกิดความร่วมมือกันทางความคิด เศรษฐกิจสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม
เกิดเครือข่ายสังคมออนไลน์จานวนมากมายที่ยากจะควบคุมได้
ก่อให้เกิดผลกระทบทางการศึกษาโดยเฉพาะด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ของคนไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตแต่มีความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้น
เกิดปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม และการแพร่ระบาดของวัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์
เยาวชนขาดการพิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่ควร–ไม่ควรทำ
การบริหารการศึกษาต้องมีการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในการบริหาร
เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหาร
มุ่งกระจายอำนาจการบริหารและความรับผิดชอบในการตัดสินใจให้แก่บุคลากรระดับปฏิบัติการมากขึ้น
มุ่งการแสวงหาความร่วมมือ เน้นการให้ความสำคัญของคน และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
การเน้นความแตกต่างที่หลากหลาย องค์การควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบต่อการบริหาร
และการดาเนินภารกิจขององค์การเพื่อนามาพิจารณาปรับปรุงพัฒนาระบบการบริหาร
การปรับเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์การให้เหมาะสม
จัดโครงสร้างการบังคับบัญชาให้สะดวก รวดเร็วต่อการบริหารงาน
นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือในการบริหารและปฏิบัติงานมากขึ้น
ขณะเดียวกันจากการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นาอาเซียนทั้ง 10
ประเทศได้ลงนามในกฎบัตร อาเซียน
ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน
ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน(ASEAN
Community) ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)
ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ
ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
และเคารพกฎกติกาในการทางานมากขึ้น นอกจากนี้
กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental
Organization) การประชุมดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบในทางปฏิบัติมากมาย
พลเมืองของอาเซียนกลายเป็นชุมชนเดียวสามารถไปทำงานที่ใดหรือประเทศใดก็ได้
การจัดการศึกษาพลเมือง เด็ก
หรือเยาวชนสามารถเรียนในสถานศึกษาของประเทศใดก็ได้หากมีความประสงค์ที่จะเรียน
ขณะเดียวกันการสื่อสารต้องใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อกัน
ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสำคัญสาหรับเด็กไทยและคนไทย คือความอ่อนด้อยด้านภาษาอังกฤษ
อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีระบบการจัดการศึกษาที่ดี และมีวัฒนธรรม
ศิลปะประจาชาติที่เข้มแข็ง คนมีความสามารถเป็นที่ยอมรับ
หากมีการจัดการศึกษาที่เหมาะสมในลักษณะของการศึกษาตลอดชีวิต
พัฒนาคุณภาพของคนในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เติมเต็มความเป็นสากล
เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการจัดการวัฒนธรรมอันดีงาม มุ่งเน้นการพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรม จะเป็นหลักประกันได้ว่า ประเทศไทย
พลเมืองไทยและการศึกษาของไทยสามารถเป็นผู้นำในอาเซียนได้
แต่การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ
จำเป็นต้องมีการพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำ มีศักยภาพการทำงาน มีสมรรถนะการทำงานสูงขึ้น
เป็นปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนการบริหาร
มุ่งเน้นความสำเร็จของงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ภาควิชาการบริหารการศึกษาเห็นความจำเป็นในภารกิจ
ความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
จึงจัดดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาผู้นำทางการศึกษาและวัฒนธรรมสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
3. วัตถุประสงค์
1.
เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพผู้นาทางการศึกษาและวัฒนธรรมเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์
สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพการทางานอย่างสร้างสรรค์
มีสมรรถนะการทางานสูงขึ้น ได้มาตรฐานสากล
2.
เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการจัดการวัฒนธรรมอันดีงาม ส่งเสริมภูมิปัญญา
พัฒนาเครือข่ายต่าง ๆ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์
สร้างความมั่นคงให้กับบุคคลที่เอื้อต่อการพัฒนา
3. สร้างแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล
4. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ใน
ข้อ 4. ยุทธศาสตร์การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม
คุณภาพชีวิต และความเท่าเทียมกันในสังคม
4.5 การอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาศาสนา
ศิลปะและวัฒนธรรม
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์
-สังคมและคนไทยมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
จิตสานึก ค่านิยมที่ดีงาม และรักษามรดก วัฒนธรรม
5. ประเภทโครงการ (เพื่อจัดรหัสประเภทในระบบ MIS
ติดตามโครงการ)
201
จัดนิทรรศการ 202
จัดประกวดผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม
203
อบรมสัมมนา 204
อบรมเชิงปฏิบัติการ
208
บูรณาการ 218
กิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
217
วารวารวิชาการ อื่น
ๆ.....................................................
6. เป้าหมาย
6.1
ผู้บริหารสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกสังกัด จำนวน 150 คน
6.2 ครู ระดับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้สนใจ
จำนวน 120 คน
7. ระยะเวลาดำเนินการ 25 –26
มกราคม 2557
8. สถานที่ดำเนินงาน
ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารศึกษา 3 คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
2. คณาจารย์ภาควิชาการบริหารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ อินทร์รักษ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่พันตรี ดร.นพดล
เจนอักษร
- อาจารย์. ดร.สาเริง อ่อนสัมพันธุ์
- อาจารย์. ดร.วรกาญจน์ สุขสดเขียว
- อาจารย์. ดร.มัทนา วังถนอมศักดิ์
- อาจารย์. ดร.สายสุดา เตียเจริญ
- อาจารย์ ดร.นุชนรา รัตนศิระประภา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น